วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติกีฬาตะกร้อ

                     ประวัติตะกร้อ ที่มาที่ไป กีฬาตะกร้อ
                                                 
 
ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด

จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า “ชิงลง”
        ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
         ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak
         ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K’au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
          ประเทศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด

                  
ประวัติ ในประเทศไทย
   ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้
โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า , หนังสัตว์ , หวาย , จนถึงประเภทสังเคราะห์ ( พลาสติก ) 
ความหมาย คำว่าตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ . ศ . 2525 ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า ” ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ “ 

วิวัฒนาการการเล่น
    การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญและหลีกหนีความจำเจ ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร
ตะกร้อนั้นมีมากมายหลายประเภท เช่น
- ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง – ตะกร้อพลิกแพลงเป็นต้น
เมื่อมีการวางกติกาและท่าทางในการเล่นอย่างลงตัวแล้วก็เริ่มมีการแข่งขันกันเกิดขึ้นในประเทศไทยตาม
ประวัติของการกีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ได้บันทึกไว้ดังนี้
พ . ศ . 2472 กีฬาตะกร้อเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกภายในสมาคมกีฬาสยาม
พ . ศ . 2476 สมาคมกีฬาสยามประชุมจัดร่างกติกาในการแข่งขันกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายและเปิดให้มีการแข่งขันในประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก
พ . ศ . 2479 ทางการศึกษาได้มีการเผยแพร่จัดฝึกทักษะในโรงเรียนมัธยมชายและเปิดให้มีแข่งขันด้วย
พ . ศ . 2480 ได้มีการประชุมจัดทำแก้ไขร่างกฎระเบียบให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ เจ้าพระยาจินดารักษ์ และกรมพลศึกษาก็ได้ออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ
พ . ศ . 2502 มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงเทพฯ มีการเชิญนักตะกร้อชาวพม่ามาแสดงความสามารถในการเล่นตะกร้อพลิกแพลง
พ . ศ . 2504 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 2 ประเทศพม่าได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน นักตะกร้อของไทยก็ได้ไปร่วมแสดงโชว์การเตะตะกร้อแบบพลิกแพลงด้วย
พ . ศ . 2508 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการบรรจุการเตะตะกร้อ 3 ประเภท เข้าไว้ในการแข่งขันด้วยก็คือ
- ตะกร้อวง – ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง
อีกทั้งมีการจัดประชุมวางแนวทางด้านกติกาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสะดวกในการเล่นและการเข้าใจของผู้ชมในส่วนรวมอีกด้วย
พอเสร็จสิ้นกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 กีฬาตะกร้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก บทบาทของประเทศมาเลเซียก็เริ่มมีมากขึ้น จากการได้เข้าร่วมในการประชุมตั้งกฎกติกากีฬาตะกร้อประเภทข้ามตาข่าย หรือที่เรียกว่า ” เซปักตะกร้อ ” และส่งผลให้กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 จนถึงปัจจุบัน
              

กติกากีฬาตะกร้อลอดห่วง

ของ สมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย
ฉบับปรับปรุง-แก้ไขใหม่ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2546
ให้เริ่มใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547
1. สนามแข่งขัน
สนามเป็นพื้นราบ จะอยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ วัดจากพื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อยประมาณ 8 เมตร ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ และให้มีวงกลมรัศมี 2 เมตร จากจุดศูนย์กลางสนาม ความกว้างของเส้นวงกลม มีความกว้าง 4เซนติเมตร มีห่วงชัยแขวนอยู่ ณ จุดศูนย์กลางของวงกลม โดยเชือกที่แขวนห่วง มีความยาวจากรอกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
2. ห่วงชัย
ห่วงชัยประกอบด้วยวงกลม 3 ช่อง ขนาดเท่ากัน มีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากภายใน กว้าง 45 เซนติเมตร ห่วงทั้ง 3 นี้ จะทำด้วย โลหะ หวาย หรือไม้ ก็ได้ แต่ต้องผูกหรือบัดกรีติดกันแน่นเป็นรูป 3 เส้า วงห่วงแต่ละห่วงตั้งตรง และหุ้มด้วยวัสดุที่มีความนุ่มแล้ว วัดโดยรอบไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีถุงตาข่ายทำด้วยด้ายสีขาว ผูกรอบห่วงทุกห่วง
ห่วงชัย ต้องแขวนกลางสนาม ขอบล่างของห่วงชัย ต้องได้ระดับสูงจากพื้นสนาม ดังนี้
- ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี และหญิง                ความสูงของห่วงชัย   5.50 เมตร
- ประเภทประชาชน                                                           ความสูงของห่วงชัย    5.70 เมตร
3. ตะกร้อที่ใช้แข่งขัน
ตะกร้อให้สานด้วยหวาย 9-11 เส้น หรือผลิตด้วยใยสังเคราะห์ ซึ่งให้มีขนาดและน้ำหนัก ดังนี้
- ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี และหญิง ขนาดเส้นรอบวง ไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และน้ำหนักไม่เกิน 200 กรัม
- ประเภทประชาชน ขนาดเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และน้ำหนักไม่เกิน 240 กรัม
4. ให้ฝ่ายจัดการแข่งขัน จัดลูกตะกร้อไว้ ให้ผู้เข้าแข่งขัน ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันนำลูกตะกร้อมาเอง จะต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการฯ ก่อนการแข่งขันทุกครั้ง หากลูกตะกร้อที่นำมาเองไม่ถูกต้องตามกติกา ต้องใช้ลูกตะกร้อที่คณะกรรมการฯ จัดไว้ ทำการแข่งขัน
5. กรรมการผู้ตัดสิน
ต้องมีผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน ให้ทำหน้าที่ บันทึกคะแนน, รักษาเวลา, ประกาศคะแนน และผู้ชี้ขาด
6. ทีมที่เข้าแข่งขัน
6.1 ให้ส่งรายชื่อเข้าทำการแข่งขันได้ไม่เกิน 8 คน มีผู้เล่นเข้าทำการแข่งขัน 7 คน หากทีมใดมีผู้เล่นไม่ถึง 6 คน ไม่มีสิทธิ์เข้าแข่งขันในครั้งนั้น โดยให้ส่งรายชื่อก่อนการแข่งขัน 30 นาที
6.2 ในระหว่างแข่งขัน สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ ซึ่งจะเปลี่ยนเวลาใดก็ได้ โดยผู้จัดการทีม ต้องยื่นขอต่อกรรมการผู้ชี้ขาด เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ในการเล่น (ลูกตาย) ซึ่งแต่ละทีมสามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้เพียง 1 คน โดยผู้ที่เปลี่ยนตัวเข้าไปใหม่ จะต้องไม่เล่น ในท่าที่ผู้เล่นเดิมทำครบแล้ว 2 ครั้ง และผู้ที่ถูกเปลี่ยนตัวออกไปแล้ว จะไม่อนุญาตให้เปลี่ยนตัวกลับคืนได้อีก
6.3 ผู้เล่นทุกคนต้องติดหมายเลขที่เสื้อด้านหน้า และด้านหลังอย่างเรียบร้อยด้วยตัวเลขที่อ่านง่าย สีของหมายเลขต้องตัดกับสีของเสื้อ หมายเลขด้านหลังต้องสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร โดยผู้เล่นทีมเดียวกันจะใช้หมายเลขซ้ำกันไม่ได้
6.4 เครื่องแต่งกายของผู้เล่น
สำหรับผู้ชายต้องสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ส่วนผู้หญิง ให้สวมเสื้อยืดมีแขน และกางเกงขาสั้นระดับเข่า สวมใส่รองเท้าพื้นยาง (ถุงเท้าด้วย) กรณีที่อากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมใส่ชุดวอร์มแข่งขันได้
6.4.1 ส่วนต่างๆ ของเครื่องแต่งกายของผู้เล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย และชายเสื้อต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลาการแข่งขัน
6.4.2 สิ่งใดก็ตามที่จะช่วยเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หรือช่วยในการเคลื่อนที่ของผู้เล่น ไม่อนุญาตให้ใช้
6.5 เมื่อถึงเวลาการแข่งขัน คณะกรรมการจัดการแข่งขัน จะเริ่มจับเวลา โดยให้ถือเป็นเวลาของการแข่งขันของทีมนั้นๆ หากทีมนั้นพร้อมเมื่อใด ก็ให้ทำการแข่งขันตามเวลาที่เหลืออยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 10 นาทีแล้ว ยังไม่สามารถลงสนามแข่งขันหรือยังไม่พร้อมทำการแข่งขัน ให้ทีมนั้นหมดสิทธิ์ในการแข่งขันครั้งนั้นๆ โดยไม่มีอุทธรณ์
7. กำหนดเวลาการแข่งขัน
7.1 ให้ใช้เวลาในการแข่งขัน 40 นาที เมื่อเวลาการแข่งขันผ่านไปครึ่งเวลา (20 นาที) กรรมการต้องประกาศให้ทราบทั้งเวลาและคะแนนที่ทำได้
7.2 ผู้เข้าแข่งขันในทีมใดเกิดอุบัติเหตุขึ้นในระหว่างการแข่งขันอยู่ และไม่สามารถทำการแข่งขัน ให้ขออนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสินออกจากสนามชั่วคราวได้
7.3 หากนักกีฬาทีมที่บาดเจ็บนั้น จะกลับเข้าทำการแข่งขันต่อไปอีก ให้ขออนุญาตต่อกรรมการผู้ตัดสินก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้ ต้องให้เป็นไปตาม ข้อ 6.1
8. การแข่งขัน
8.1 ให้ผู้เล่น ยืนเป็นรูปวงกลม เว้นระยะห่างกันพอสมควร ในระหว่างการแข่งขันผู้เล่นจะสลับเปลี่ยนที่กันก็ได้
8.2 เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณเริ่มการแข่งขัน ให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งโยนลูกตะกร้อให้แก่คู่หนึ่งหรือคู่สองของตน ต่อจากนั้นไป เมื่อลูกตาย ผู้เล่นใดถูกลูกก่อนจะต้องเป็นผู้โยน และต้องโยนให้คู่หนึ่งหรือคู่สองของตน เพื่อเล่นต่อไปทุกคราว โดยผู้โยนและผู้รับลูกโยน ต้องอยู่นอกวงกลม
8.3 เมื่อลูกตายแล้ว จะเปลี่ยนลูกตะกร้อก็ได้
8.4 ในการโต้ลูก ห้ามไม่ให้ผู้เล่นใช้มือ ถ้าผู้เล่นใช้มือจับลูก ผู้เล่นที่ใช้มือจับลูกต้องโยนลูกให้คู่ของตนเตะแล้วปล่อยให้ลูกตายก่อน จึงนำลูกมาโยนเพื่อเล่นต่อไปได้
8.5 กรณีต่อไปนี้ให้ถือเป็นลูกตาย ให้โยนใหม่
(1) ลูกตกถึงพื้นสนาม
(2) ลูกถูกมือผู้เล่น ยกเว้นกรณีที่ผู้เล่นเตะลอดบ่วงมือ แล้วลูกกระทบบ่วงมือนั้น
(3) ลูกติดกับห่วงชัย
(4) ลูกถูกวัตถุใดๆ ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ตะกร้อลอดห่วง
8.6 ถ้าลูกโต้ยังดีอยู่เข้าห่วง หรือลูกตะกร้อที่หวายขาดไปเกี่ยวกับตาข่าย และค้างอยู่ภายในรัศมีวงกลมห่วงชัย ให้กรรมการผู้ตัดสินให้คะแนนตามลักษณะของท่าที่กำหนดในข้อ 8.เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้เล่นโต้ลูกโยนไปเข้าห่วง
(2) ผู้เล่นถูกลูกเข้าห่วงภายหลังสัญญาณหมดเวลา
(3) ลูกเข้าห่วงแล้วกระดอนออก
(4) ผู้เล่นคนใดเตะลูกเข้าห่วง ซ้ำท่าเกินกว่า 2 ครั้ง
5. การให้คะแนนของท่าการเล่น
6. การตัดสิน

7.1 ทีมใดได้คะแนนมากที่สุด ทีมนั้นชนะ                                                                                                7.2 ถ้าได้คะแนนเท่ากัน ทีมใดได้จำนวนครั้งที่เข้าห่วงมากกว่า ทีมนั้นชนะ
7.3 ถ้าได้คะแนน และจำนวนครั้งที่เข้าห่วงเท่ากัน ทีมใดได้เข้าห่วงด้วยท่าที่คะแนนสูง
กว่า ทีมนั้นชนะ
8.4 ถ้าทั้งหมดดังกล่าวเท่ากัน ให้เป็นไปตามระเบียบของการแข่งขันครั้งนั้น                              ตะกร้อ : แนะนำอุปกรณ์ตะกร้อ – กติกา การเล่นตะกร้อกติกา
กติกาเซปักตะกร้อ
( SEP AKTAKRAN RULES & REGULATIONS )

ข้อที่ 1. สนามแข่งขัน ( THE COURT )

1.1 พื้นที่ของสนามมีความยาว 13.40 เมตร และกว้าง 6.10 เมตร จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ เมื่อวัดจากพื้นสนามสูงขึ้นไป 8 เมตร (พื้นสนามไม่ควรเป็นสนามหญ้าหรือสนามทราย )
1.2 เส้นสนาม ขนาดของเส้นสนามทุกเส้นที่เป็นขอบเขตของสนามต้องไม่กว้างกว่า 4 เซนติเมตร ให้ตีเส้นจากกรอบนอกเข้ามาในสนามและถือเป็นส่วนของพื้นที่สนามแข่งด้วย เส้นเขตสนามทุกเส้นต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร
1.3 เส้นกลาง มีขนาดกว้างของเส้น 2 เซนติเมตร โดยจะแบ่งพื้นที่ของสนามออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวาเท่าๆกัน
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้างเขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสอง ด้านรัศมี 90 เมตร ให้ตีเส้นขนาดความกว้าง  4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 90 เซนติเมตร
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมของสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่ก่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้าง เขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสองด้านรัศมี 90 เซนติเมตร ให้ตีเส้นนขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกรัศมี 90 เซนติเมตร
1.5 วงกลมเสิร์ฟ ให้รัศมี 30 เซนติเมตร โดยวัดจากจุดกงกลางของเส้นหลังไปในสนาม 2.45 เมตร และวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างไปในสนาม 3.05 เมตร  แ ละวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างเข้าไปในสนาม 3.05 เมตร ใช้ตรงจุดตัดจากเส้นหลังและเส้นข้างเป็นจุดศูนย์กลาง ให้เขียนเส้นวงกลมขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 30 เซนติเมตร ( ดูรูปขนาดสนามจากภาคผนวก )
ข้อที่ 2. เสา ( THE POSTS )
2.1 เสามีความสูง 1.55 เมตร ( ผู้หญิง 1.45 เมตร ) ตั้งอยู่อย่างมั่นคงพอที่จะทำให้ตาข่ายตึง โดยต้องทำจากวัสดุที่มีความแข็งแกร่งและมีรัศมีไม่เกิน 4 เซนติเมตร
2.2 ตำแหน่งของเสา ให้ตั้งหรือวางไว้อย่างมั่นคงนอกสนามตรงกับแนวเส้นกลาง  ห่างจากเส้นข้าง 30 เซนติเมตร
ข้อที่ 3. ตาข่าย ( THE NET )
3.1  ตาข่ายให้ทำด้วยเชือกอย่างดีหรือไนล่อน  มีรูตาข่ายกว้าง 6 – 8 เซนติเมตร ความกว้างของผืนตาข่าย 70 เซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6.10 เมตร ให้มีวัสดุที่ทำเป็นแถบ ขนาดความกว้าง 5 เซนติเมตร ตรงด้านข้างของตาข่ายทั้งสองด้านจากด้านบนถึงด้านล่างตรงกับแนวเส้นข้างซึ่งเรียกว่า “แถบแสดงเขตสนาม”
3.2 ตาข่ายให้มีขนาดความกว้าง 5 ซนติเมตร ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยมีเชือกธรรมดาหรือเชือก      ไนล่อนอย่างดี ร้อยผ่านแถบและขึงตาข่ายให้ตึงเสมอระดับหัวเสา ความสูงของตาข่ายโดยวัดจากพื้นถึงส่วนบนของตาข่ายที่กึ่งกลางสนามมีความสูง 1.52 เมตร ( ผู้หญิง 1.42 เมตร ) และวัดตรงเสาทั้งสองด้านมีความสูง  1.55 เมตร ( ผู้หญิง  1.45 เมตร )
ข้อที่ 4 ลูกตะกร้อ ( THE SEPAKTRAKRAW BALL’ )
ลูกตะกร้อต้องมีลักษณะเป็นทรงกลม ทำด้วยหวายหรือใยสงเคราะห์ชั้นเดียวมี 12 รู กับ 20 จุดตัดไขว้ หากทำด้วยหวายต้องมีจำนวน 9 – 11 เส้น ขนดของเส้นรอบวงต้องไม่น้อยกว่า 42 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 44 เซนติเมตร ( ผู้หญิง 43 – 45 เซนติเมตร) น้ำหนักก่อนใช้แข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 170 กรัม และไม่เกินกว่า 180 กรัม ( ผู้หญิง 150 – 160 กรัม )
ข้อที่ 5 ผู้เล่น ( THE PLAYERS )
5.1 การแข่งขันมี 2 ทีม ประกอบด้วยผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน
5.2 ผู้เล่นหนึ่งในสามคนจะเป็นผู้ เสิร์ฟลูกและอยู่ด้านหลังเรียกว่า “ผู้เสิร์ฟ” “Server ( Tekong )”
5.3 ผู้เล่นอีกสองคนอยู่ด้านหน้า โดยคนหนึ่งจะอยู่ด้านซ้ายเรียกว่า “หน้าซ้าย” ( left inside ) และคนที่อยู่ด้านขวาเรียกว่า “หน้าขวา” ( night inside )

ข้อที่ 6. เครื่องแต่งกายของผู้เล่น ( PLAYER ATTIRE)
6.1  สำหรับผู้ชายต้องสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ( สำหรับผู้หญิงให้สวมเสื้อยืดมีแขนและกางเกงขาสั้นระดับเข่า ) และรองเท้ากีฬาพื้นยาง ( ถุงเท้าด้วย ) ห้ามผู้เล่นสวมสิ่งอื่นใดที่จะเป็นอันตรายแก่ฝ่ายตรงข้ามในระหว่างการแข่งขัน กรณีที่อากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมชุดวอร์มแข่งขันได้
6.2 ส่วนต่างๆของเครื่องแต่งกายของผู้เล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายและชายเสื้อจะต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลาการแข่งขัน
6.3 สิ่งใดก็ตามที่จะช่วยเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หรือช่วยในการเคลื่อนที่ของผู้เล่นไม่อนุญาตให้ใช้
6.4 หัวหน้าทีม ( captian) จะต้องใส่ปลอกแขน ที่แขนเสื้อด้านซ้าย
6.5 เสื้อของผู้เล่นทุกคนจะต้องติดหมายเลขด้านหลังให้เห็นได้ชัดเจนให้แต่ละทีมใช้หมายเลข 1 – 15 เท่านั้น มีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 19 เซนติเมตร ซึ่งกำหนดให้ผู้เล่นจะต้องมีเพียงหมายเลขเดียวตลอดการแข่งขัน ( tournament )

ข้อที่ 7. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น ( SUBSTITUTION )
7.1ผู้เล่นคนใดที่ได้ลงแข่งขันในแต่ละทีม หรือได้เปลี่ยนตัวไปแล้วจะไม่อนุญาตให้ลงแข่งในทีม ( regu )อื่นๆอีก สำหรับการแข่งขันประเภททีมชุด ( team ) เฉพาะครั้งนั้นๆ
7.2 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะกระทำเวลาใดก็ได้ โดยผู้จัดการทีมยื่นขอต่อกรรมการผู้ชี้ขาด เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ในการเล่น ( ลูกตาย )
7.3 แต่ละทีม ( regu ) มีผู้เล่นสำรองไม่เกิน 2 คน แต่อนุญาต ให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ 1 คนเท่านั้น
7.4 ผู้เล่นคนใดถูกผู้ตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน จะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ ถ้าหากว่ายังมิได้มีการเปลี่ยนตัว
7.5 ทีมใด ( regu ) มีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน จะไม่อนุญาตให้ทำการแข่งขันและปรับทีมนั้นเป็นแพ้การแข่งขัน
ข้อที่ 8 เจ้าหน้าที่ ( OFFICIALS )
กีฬาเซปักตะกร้อ มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการแข่งขันดังต่อไปนี้
8.1 กรรมการผู้ชี้ขาด 1 คน
8.2 กรรมการผู้ตัดสิน 2 คน ( ผู้ตัดสิน 1 คนผู้ช่วยผู้ตัดสิน 1 คน )
8.3 กรรมการผู้กำกับเส้น 6 คน ( กำกับเส้นข้าง 4 คน และกำกับเส้นหลัง 2 คน
ข้อที่ 9. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย ( THE COIN TOSS AND WARM UP )
ก่อนเริ่มการแข่งขันกรรมการผู้ตัดสินจะทำการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์เลือกลูกส่ง หรือเลือกแดนก็ได้ ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นทีมที่อบอุ่นร่างกายในสนามก่อนเป็นเวลา 2 นาที แล้วตามด้วยทีมที่เหลืออยู่ด้วย
ตะกร้อที่ใช้ในการแข่งขัน และให้มีบุคคลอยู่ในสนามได้ 5 คนเท่านั้น ( ผู้เล่นตัวจริง 3 คน และหรือ ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอนและผู้เล่นสำรอง )
 ข้อที่ 10. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูก ( OSITION OF PLAYERS DURING SERVICE )
10.1 เมื่อเริ่มผู้เล่นทั้งสองทีม ( both regus ) ต้องยืนอยู่ในที่ที่กำหนไว้ในแดนของตน ลักษณะที่เตรียมพร้อม
10.2   ผู้เสิร์ฟ ( tekong ) ต้องวางเท้าหลักอยู่ในวงกลมเสิร์ฟ
10.3   ผู้เล่นด้านหน้าทั้งสองคนของฝ่ายเสิร์ฟจะต้องยืนอยู่ในเสี้ยววงกลมตนเอง
10.4   ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะยืนอยู่ที่ใดก็ได้ในแดนของตน
 ข้อที่ 11. การเริ่มเล่นและการส่งลูก ( THE START OF PLAY AND SERVICE )
11.1                       การเริ่มเล่นให้ฝ่ายที่ได้เสิร์ฟ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเซตแรก ทีมที่ชนะในเซตแรกจะได้รับสิทธิ์เลือกการเสิร์ฟในเซตที่ 2
11.2                       เมื่อกรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว ถือเป็นการเริ่มเล่น ผู้โยนจะต้องโยนลูกตะกร้อออกไปให้ผู้เสิร์ฟลูก หากผู้โยนโยนลูกตะกร้อออกไปก่อนกรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนต้องโยนใหม่ และต้องเตือนผู้โยนนั้น
11.3                       ระหว่างการเสิร์ฟ ในทันทีที่ผู้เสิร์ฟได้เตะลูกตะกร้อแล้วผู้เล่นทุกคนสามารถเคลื่อนที่ในแดนของตนได้
11.4                       การเสิร์ฟที่ถูกต้อง เมื่อลูกตะกร้อได้ข้ามไปยังฝ่ายตรงข้ามระหว่างแถบตาข่าย ไม่ว่าจะสัมผัสตาข่ายหรือไม่ก็ตาม ต้องให้ลูกตกสู่พื้นอยู่ในขอบเขตของสนาม
ข้อที่ 12. การผิดกติกา ( FAULTS )
12.1 สำหรับผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟ ระหว่างการเสิร์ฟ
12.1.1 ผู้เล่นหน้า คนที่ทำหน้าที่โยนลูกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ได้โยนให้ผู้เสิร์ฟเตะลูกส่ง เช่น โยนลูกเล่น เคาะลูกเล่น โยนลูกให้ผู้เล่นหน้าอีกคน ฯลฯ หลังจากผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว
12.1.2 ผู้เล่นหน้ายกเท้าหรือเหยียบเส้น หรือถูกตาข่าย หรือส่วนของร่างกายล้ำเข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้ามขณะที่โยนลูก
12.1.3 ผู้เสิร์ฟ กระโดดเสิร์ฟ
12.1.4 ผู้เสิร์ฟไม่ได้เตะลูกที่โยน
12.1.5 ลูกตะกร้อถูกผู้เล่นฝ่ายเดียวกันก่อนข้ามตาข่าย
12.1.6 ลูกตะกร้อข้ามตาข่ายแต่ออกนอกเขตสนาม
12.1.7 ลูกตะกร้อไม่ข้ามตาข่าย
12.2 สำหรับผู้เล่นฝ่ายรับ ระหว่างการเสิร์ฟ เจตนากระทำในลักษณะที่ทำให้ฝ่ายเสิร์ฟลูกเสียสมาธิ หรือส่งเสียงรบกวน หรือร้องตะโกน
12.3 สำหรับผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ระหว่างการแข่งขัน
12.3.1 ถูกลูกตะกร้อในแดนฝ่ายตรงข้าม
12.3.2 ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามไม่ว่าจะเป็นด้านบนหรือด้านล่างของตาข่าย ยกเว้นการติดตามล้ำตาข่ายหรืการลงสู่พื้นภายหลังการเล่นลูก ( follow through )
12.3.3  เล่นลูกเกิน 3 ครั้ง
12.3.4 ลูกถูกมือหรือแขน
12.3.5 หยุดลูก หรือยึดลูกไว้ใต้แขน ระหว่างขาหรือลำตัว
12.3.6 ส่วนหนึ่งของร่างกายหรืออุปกรณ์ของเครื่องแต่งกายผู้เล่น ถูกตาข่ายหรือถูกเสาหรือถูกเก้าอี้กรรมการผู้ตัดสิน หรือตกลงในพื้นที่ฝ่ายตรงข้าม
12.3.7 ลูกตะกร้อถูกเพดาน หลังคา ผนัง หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ
ข้อที่ 13. การนับคะแนน ( SCORING SYSTEM )
13.1 ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟหรือฝ่ายรับก็ตาม เมื่อมีการทำผิดกติกาเกิดขึ้น ( fault ) ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนทันทีและจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟต่อไป
13.2 ทีมที่ชนะการแข่งขันในแต่ละเซตจะต้องทำคะแนนได้ 21 คะแนน แต่ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 20 : 20 ผู้ชนะจะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนนและคะแนนสูงสุดไม่เกิน 25 คะแนน เมื่อคะแนน 20 เท่า ผู้ตัดสินต้องขานว่า “ดิวส์คู่”  ไม่เกิน 25 แต้ม
13.3 การแข่งขันจะต้องชนะกัน 2 เซต โดยมีการพักระหว่างเซต 2 นาที
13.4 ถ้าแต่ละทีมชนะกันทีมละ 1 เซต จะต้องทำการแข่งในเซตที่ 3 ซึ่งเรียกว่า “ไทเบรค” โดยแข่งขันกัน 15 คะแนน แต่ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 14 : 14 ผู้ชนะจะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนน และคะแนนสูงสุดไม่เกิน 17 คะแนน เมื่อคะแนน 14 เท่า ผู้ตัดสินต้องขานว่า “ดิวส์คู่” ไม่เกิน 17 แต้ม
13.5 ก่อนเริ่มการแข่งขันในเซตที่ 3 ผู้ตัดสินต้องทำการเสี่ยง ผู้ชนะในการเสี่ยงจะได้สิทธิ์เลือกการเสิร์ฟและให้มีการเปลี่ยนแดนเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ 8 คะแนน
ข้อที่ 14. การขอเวลานอก ( TIME OUT )
แต่ละทีม ( regu ) สามารถขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 นาที โดยให้ผู้จัดการทีมหรือผู้ฝึกสอนขอเวลานอกต่อกรรมการผู้ตัดสินเมื่อลูกตระก้อไม่ได้อยู่ในการเล่น และมีบุคคลในระหว่างการขอเวลานอกได้ 5 คน ที่บริเวณท้ายสนามของแต่ละด้าน
ข้อที่ 15. อุบัติเหตุและการหยุดการแข่งขัน ( TEMPORARY SUSPENSION OF PLAY )
15.1 กรรมการผู้ตัดสินสามารถหยุดการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางหรือรบกวนการแข่งขัน หรือผู้เล่นเกิดบาดเจ็บและต้องได้รับการดูแลทันที
15.2 การหยุดพักสำหรับผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บถือเป็นเวลานอก สำหรับการบาดเจ็บอนุญาตให้พักการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที ภายหลังจากหยุดครบ 5 นาทีแล้ว ผู้เล่นคนนั้นไม่สามารถทำการแข่งขันต่อได้ จะต้องทำการเปลี่ยนตัวผู้เล่นนั้นออก ถ้าเกิดกรณีที่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นไปแล้ว ให้ปรับทีมนั้นเป็นแพ้ และให้ฝ่ายตรงข้ามชนะการแข่งขันในครั้งนั้น
15.3 ในระหว่างหยุดพักการแข่งขัน ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในสนามและไม่อนุญาตให้ดื่มน้ำหรือได้รับการช่วยเหลือใดๆทั้งสิ้น
 ข้อที่ 16. วินัยและมารยาทในการแข่งขัน ( DISCIPLINE )
16.1 ผู้เล่นทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน
16.2 ในระหว่างการแข่งขันจะอนุญาตให้หัวหน้าทีมเท่านั้นเป็นผู้ติดต่อหรือซักถามต่อกรรมการผู้ตัดสิน ( ในลักษณะสุขภาพ )

ข้อที่ 17. ความผิดและบทลงโทษ ( PENALTY )
17.1 ความผิดที่ถูกตักเตือน
ผู้เล่นที่กระทำความผิดจะต้องถูกตักเตือนและได้รับบัตรเหลืองใน 6 กรณีดังต่อไปนี้
17.1.1 ปฏิบัติตนไม่มีน้ำใจนักกีฬา
17.1.2 แสดงกิริยาและวาจาไม่สุภาพ
17.1.3 ไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกาการแข่งขัน
17.1.4 ถ่วงเวลาการแข่งขัน
17.1.5 เข้าหรือออกสนาม โดยไม่ได้อนุญาตจากผู้ตัดสิน
17.1.6 เจตนาเดินออกไปจากสนาม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
17.2 ความผิดที่ถูกให้ออกจากการแข่งขัน
ผู้เล่นที่กระทำความผิดถูกให้ออกจากการแข่งขันและได้รับบัตรแดงมี 5 กรณี ดังต่อไปนี้
17.2.1 กระทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง
17.2.2 ประพฤติร้ายแรงโดยเจตนาทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บ
17.2.3 ถ่มน้ำลายใส่ฝ่ายตรงข้ามหรือผู้อื่น
17.2.4 ทำความผิดอย่างร้ายแรงโดยสบประมาทหรือดูถูกและหรือแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมไปยังฝ่ายตรงข้าม
17.2.5 ได้รับการเตือนด้วยบัตรเหลืองเป็นครั้งที่  2 ในการแข่งขันครั้งนั้น
17.3    ผู้เล่นที่กระทำผิดถูกเตือนหรือให้ออกจากการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นความผิดทั้งในหรือนอกสนามแข่งขัน ผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน กรรมการผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน หรือบุคคลอื่นๆให้พิจารณาลงโทษตามความผิดที่ได้กระทำขึ้น
ข้อที่ 18. ความผิดขอเจ้าหน้าที่ทีม ( MISCONDCT OF OFFICIALS )
ในระหว่างการแข่งขันหากทีมหรือเจ้าหน้าที่ของทีมคนหนึ่งคนใดกระทำความผิดเกี่ยวกับวินัยและมารยาท ทั้งในสนามและนอกสนามแข่งขัน เจ้าหน้าที่ทีมหรือทีมนั้นๆจะต้องถูกพิจารณาลงโทษทางวินัยและมารยาท
ข้อที่ 19. บททั่วไป ( GENERAL )
ในการแข่งขันหากมีปัญหาหรือเรื่องราวใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นในทุกกรณี ซึ่งนอกเหนือจากที่มิได้ระบุไว้ในกกติกาข้อใดๆของการแข่งขัน ให้ถือคำตัดสินของกรรมการผู้ชี้ขาดเป็นที่สิ้นสุด
กติกาการแข่งขันตะกร้อข้ามตาข่ายชองสมาคมกีฬาไทย ในพระบรมชูปถัมภ์
สนาม
1. ก. สนามจะต้องทำแบบ ก. ( เว้นแต่ในกรณีที่กล่าวไว้ในวรรค ข. แห่งกติกาข้อนี้ ) ซึ่งมีความกว้างยาวตามที่แสดงไว้ในแบบนั้น และจะต้องทำเส้นด้วยสีขาว หรือสีดำ หรือสีอื่นๆ ทั้งเห็นได้ง่าย ความกว้างของเส้น 1 ½  นิ้ว  ( 0.038 เมตร )
ในการทำสนาม เส้นกลางจะแบ่งสนามออกเป็นสองส่วนเท่ากัน ส่วนหนึ่งอยู่ในสนามส่งลูกข้างขวา อีกส่วนหนึ่งอยู่ในสนามที่ส่งลูกข้างซ้าย ความกว้างของเส้นส่งลูกสั้นและเส้นส่งลูกยาวจะต้องรวมอยู่ในความยาว 13 ฟุต ( 3.96 เมตร) ของสนามส่งลูก และความกว้างของเส้นเขตต่างๆจะต้องรวมอยู่ในความกว้างของเส้นเขตต่างๆจะต้องรวมอยู่ในความกว้างยาวของสนามที่กำหนดไว้
ข. ในที่ใดที่ไม่สามารถทำสนามสำหรับเล่นคู่ แต่อาจทำสนามสำหรับเล่นเดี่ยวได้ ก็ต้องตามที่แสดงไว้ตามแบบ ข. เส้นหลังจะกลายเป็นเส้นส่งลูกยาวไปด้วยและเสาหรือวัสดุอย่างอื่นใช้แทนเสา ดังกล่าวในกติกาข้อ 2 จะต้องตั้งอยู่ห่างจากเส้นเขตของสนามตรงกับเส้นแบ่งเขตข้างละ 1 ฟุต ( 0.305 เมตร )
เสา
2. เสาจะต้องสูง 5 ฟุต 1 นิ้ว ( 1.55 เมตร ) จากพื้นสนาม และจะต้องมั่นคงพอจะยึดตาข่าย ดังกล่าวในกติกาข้อ 3 ให้ขึงตึงอยู่ได้ และจะต้องตั้งอยู่ตรงกับเส้นแบ่งแดนเขตข้างของสนาม ดังกล่าวในข้อ  1 ข. ในกรณีที่จะทำการแข่งขันประเภทเดี่ยวจะต้องใช้วิธีหนึ่งวิธีใดที่แสดงให้เห็นว่า เส้นเขตข้างอยู่ใต้ตาข่าย เช่น ใช้เสาบางๆกว้างไม่น้อยกว่า 1 1/2 นิ้ว  ( 0.38 เมตร ) ไว้ที่เส้นเขตข้างให้ตั้งชี้มาที่ตาข่าย
ตาข่าย
3. ตาข่ายจะต้องทำด้วยด้ายย้อมฝาดเส้นเล็ก มีตากว้างยาว 3/4 นิ้ว ( 0.019 เมตร ) ตาข่ายจะต้องขึงให้ตึงจากเสาหนึ่งถึงอีกเสาหนึ่งและจะต้องกว้าง 2 ฟุต 6 นิ้ว (0.76 เมตร) ริมบนของตาข่ายจะต้องห่างจากพื้นสนามตอนจุดกลางสนาม 5 ฟุต ( 1.524 เมตร ) และเสาจะต้องสูงจากพื้นสนาม 5 ฟุต 1 นิ้ว ( 1.55 เมตร ) ตอนบนของตาข่ายติดแถบสีขาวพับ 2 ขนาดกว้าง 3 นิ้ว ( 0.076 เมตร ) มีเชือกหรือลวดร้อยตลอดแถบผ้านี้ และขึงตึงให้ได้ระดับกับหัวเสาทั้งสองข้าง
ตะกร้อ
4. ลูกตะกร้อจะต้องสานด้วยหวายหรือใยสังเคราะห์ชนิด 6 เส้นขึ้นไป เป็นรูปทรงกลมขนาดวัดโดยรอบไม่น้อยกว่า 16 นิ้ว และไม่เกิน 17 นิ้ว น้ำหนักเมื่อเริ่มการแข่งขันลูกตะกร้อไม่เบากว่า 170 กรัม และไม่หนักกว่า 220 กรัม ในการแข่งขันทุกครั้งให้ใช้ลูกตะกร้อของกรรมการที่สนามจัดไว้
 ผู้เล่น
  1. ก. คำว่าผู้เล่น หมายถึงผู้ร่วมเล่นในเกมทุกคน
ข.ในการเล่นประเภท 3 คน ผู้เล่นต้องมีข้างละ 3 คน ในการเล่นประเภทคู่ ผู้เล่นจะต้องมีข้างละ 2 คน และในการเล่นประเภทเดี่ยว ผู้เล่นจะต้องมีข้างละ 1 คน
ค.ข้างใดที่มีสิทธิ์ส่งลูก จะต้องเรียกว่า ข้างส่งลูก ส่วนอีกข้างหนึ่งนั้นให้เรียกว่า ข้างรับลูก
การสี่ยง
  1. ก่อนที่จะเริ่มต้นเล่น ทั้งสองข้างต้องทำการเสี่ยง ข้างที่ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์ที่จะเลือก
ก.  เลือกส่งลูกก่อน หรือ
ข.   ไม่ส่งลูกก่อน หรือ
ค.   เลือกแดนด้านใดด้านหนึ่ง
ข้างที่แพ้การเสี่ยงจะเลือกได้แต่ข้อที่ยังเหลืออยู่เท่านั้น
การนับคะแนน
7. ก.    การเล่นประเภท 3 คน เกมหนึ่งมี 21 คะแนน เมื่อได้ 19 หรือ 20 คะแนนเท่ากัน ข้างที่ได้ 19 หรือ 20 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่จะเลือกกำหนด ให้เกมนั้นเริ่มต่อไปอีก 5 คะแนน หรือเล่นต่อไปจนครบ 21 คะแนน ในกรณีเช่นนี้ ถ้าผู้มีสิทธิ์เลือก “ ล่นแต้มต่อ ” เล่นต่อไปอีก 5 คะแนน เมื่อได้ 19 หรือ 20 คะแนนเท่ากันแล้วคะแนนก็จะเสมอกัน และข้างที่ได้ 5 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
การเรียกร้อง “เล่นแต้มต่อ” การเล่นดังกล่าวในข้อนี้จะต้องกระทำก่อนการส่งลูกในครั้งต่อไป จากที่ได้คะแนน 19 หรือ 20 เท่ากัน
ข. การเล่นประเภทคู่ เกมหนึ่งมี 15 คะแนน เมื่อได้ 13 หรือ 14 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่เลือก “ เล่นแต้มต่อ ” .ให้เกมนั้นเล่นต่อไปอีก 3 คะแนน หรือเล่นต่อไปจนครบ 15 คะแนน ในกรณีเช่นนี้ถ้าผู้มีสิทธิ์เลือก “เล่นแต้มต่อ” เล่นต่อไปอีก 3 คะแนน เมื่อได้ 13  หรือ 14 คะแนนเท่ากันแล้ว คะแนนก็จะเสมอกัน ข้างที่ได้ 3 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
ค.การเล่นประเภทเดี่ยว เกมหนึ่งมี 11 คะแนน เมื่อได้ 9 หรือ 10 คะแนนเท่ากัน ข้างที่ได้ 9 หรือ 10 คะแนนก่อน มีสิทธิ์ที่จะเลือก “ เล่นแต้มต่อ ” เล่นต่อไปอีก 3 คะแนน เมื่อได้ 9 หรือ 10 คะแนนเท่ากันแล้วคะแนนก็จะเสมอกัน ข้างที่ได้ 3 คะแนนก่อน เป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
การเรียกร้อง “เล่นแต้มต่อ” ให้เป็นไปตามกติกาข้อ 7 ก. วรรค 2
ง. ฝ่ายใดที่สละสิทธิ์เลือกกำหนดการเล่น ซึ่งเกิดขึ้นในโอกาสแรกแล้วก็ไม่มี่สิทธิ์เลือก “ เล่นแต้มต่อ ” ในโอกาสที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2
จ. ในการเล่นที่มีแต้มต่อแต่ไม่ยอมให้ใช้สิทธิ์เลือก “เล่นแต้มต่อ”
  1. ถ้าไม่ได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น จะต้องเล่นให้ชนะเกมมากที่สุดใน 3 เกม ผู้ที่เล่นจะเปลี่ยนข้างกันเมื่อจะตั้งต้นเล่นเกมที่ 2 และเมื่อจะตั้งต้นเล่นเกมที่ 3 ก็ต้องเปลี่ยนข้างกัน ( ถ้าต้องเล่นถึงเกมที่ 3 ) และในการเล่นเกมที่ 3 นี้ก็จะต้องเปลี่ยนข้างกัน ตามคะแนนที่ได้ ดังที่กำหนดไว้ต่อไปนี้ คือ
ก.      11 คะแนนสำหรับเกม 21 คะแนน
ข.      8 คะแนนสำหรับ 15 คะแนน
ค.      6 คะแนนสำหรับเกม 11 คะแนน
หรือในการเล่นชนิดที่การเล่นมีแต้มต่อ ข้างใดข้างหนึ่งทำได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนทั้งหมดที่จะต้องทำเพื่อชนะเกมนั้น ( ในกรณีที่มีเศษให้ปัดขึ้น ) ถ้ามีการตกลงจะเล่นเกมเดียว ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างดังกล่าวไว้ตามการเปลี่ยนแปลงข้างในเกมที่ 3 ข้างบนนี้
ถ้าผู้เล่นละเว้นการเปลี่ยนข้างตามกติกาที่วางไว้นี้โดยไม่ตั้งใจ ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้สึกตัวว่าตนผิด แต่คะแนนที่ได้อยู่เท่าใดก็ให้นับต่อไปตามนั้น
การเล่นประเภท 3 คน
9. ก. เมื่อได้ตกลงว่า ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายส่งลูกก่อน ผู้เล่นซึ่งอยู่ในสนาม “ ส่งลูก ” ต้องส่งลูกทแยงมุมตรงกันข้ามถ้าผู้เล่นนั้นโต้ลูกกลับไปก่อนที่ลูกจะถูกพื้นลูกนี้ก็จะถูกโต้กลับมาโดยข้าง“ ส่งลูก ”แล้วข้าง  “ รับลูก” ก็จะโต้กลับไปอีก โต้กลับไปกลับมาเรื่อยไปจนกระทั่งเกิด“ เสีย ”ขึ้น หรือจนกระทั้งลูกอยู่ใน“ การเล่น ” (ดูกติกาข้อนี้วรรค ข.) ถ้าข้าง “ ส่งลูก ” ทำลูก “ เสีย ” การส่งลูกของผู้ส่งลูกคนแรกก็หมดสิทธิ์ ข้าง “ ส่งลูก ” ก่อน ส่งลูกได้เพียงคนแรกคนเดียวเท่านั้น (ดูกติกาข้อ 11) แล้วผู้เล่นของอีกข้างหนึ่งที่อยู่ในสนาม ส่งลูกด้านขวามือก็กลับเป็นผู้ส่งลูก ถ้าข้าง “ รับลูก ” โต้ลูกกลับไปไม่ได้หรือทำ “ เสีย ” ข้าง “ ส่งลูก ” ก็ได้ 1 คะแนน เมือได้คะแนนแล้ว ผู้เล่นข้าง “ ส่งลูก ” ผู้นั้นก็เปลี่ยนที่ส่งลูกโดยเปลี่ยนจากสนามด้านขวามือไปส่งลูกในสนามด้านซ้ายมือส่งไปยังผู้เล่นอีกข้างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสนามทแยงมุมตรงข้าม ตราบใดที่ฝ่ายนั้นยังเป็นฝ่าย “ ส่งลูก ” อยู่ การส่งลูกก็จะต้องลงจากสนามส่งลูกไปยังสนามรับลูกอีกข้างหนึ่ง ซึ่งอยู่ทแยงมุมตรงกันข้าม การเปลี่ยนสนามส่งลูกโดยข้าง “ ส่งลูก ” จะกระทำได้ต่อเมื่อตนทำคะแนนเพิ่มขึ้นได้ทุก 1 คะแนน
ข. ฝ่ายส่งลูก จะต้องส่งลูกแรกจากสนามส่งลูกด้านขวามือ เมื่อผู้ส่งลูกได้เล่นลูกจนกระทั่งส่งลูกออกไปแล้ว ต่อจากนี้ไปจะต้องถือว่าลูกอยู่ในการเล่นจนกว่าลูกนั้นถูกพื้นหรือเกิดการ “ เสีย ” หรือ “ เอาใหม่ ” เกิดขึ้น นอกจากที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 19 เมื่อได้ส่งลูกไปแล้วจนกระทั่งลูกนั้นได้ข้ามตาข่ายไปยังข้างรับลูก  ผู้ส่งลูกจะอยู่ ณ  ที่หนึ่งที่ใดในด้านของฝ่ายตน ซึ่งมีตาข่ายกั้นอยู่เป็นเขตก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงเส้นเขตต่างๆ
ในการเล่น ผู้เล่นจะเปลี่ยนแนวหรือตำแหน่งกันได้ก็ต่อเมื่อหมดสิทธิ์การรับ-ส่ง และผู้ตัดสินอนุญาตแล้วเท่านั้น
10.    ผู้ที่จะรับลูกส่งได้ ต้องเป็นผู้ที่ส่งลูกมาให้เท่านั้น แต่ถ้าลูกถูกตัวผู้เล่นรวมกันกับผู้รับส่งลูก หรือผู้ที่เล่นรวมกับผู้รับลูกส่งเว้นผู้เล่นแนวหลัง (มือที่สาม) เล่นลูกนั้น ข้างส่งลูกได้ 1 คะแนน ผู้เล่นคนเดียวกันจะรับลูกส่งที่ฝ่ายส่งมาซ้ำกันสองครั้งติดกันไม่ได้ในเกมเดียวกัน นอกจากที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 12
11.        ข้างที่เริ่มเล่นเกมแรก หรือในเกมต่อไปจะส่งลูกได้คนเดียวในการเล่นคราวแรก ผู้ส่งลูกนั้นจะส่งลูกได้เรื่อยไปด้วยการเปลี่ยนแดนส่งเมื่อตนได้คะแนนเพิ่มขึ้น 1 คะแนน ทุกครั้งเรื่อยไปจนกว่าตนทำเสีย จากนั้นให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายส่งลูกได้อีก 2 คน จนกว่าฝ่ายตนจะทำเสีย 2 ครั้ง ผู้ร่วมเล่นแต่ละข้างจึงจะส่งลูกได้ครบตามจำนวน ในการส่งลูกเริ่มเล่นในกมต่อไปให้ฝ่ายที่ไม่ได้เริ่มส่งครั้งแรกเป็นฝ่ายส่งลูก ถ้าเริ่มเล่นในเกมที่สามให้ฝ่ายที่ไม่ได้ส่งลูกในเกมที่สองเป็นฝ่ายส่งลูกก่อน
12.         ถ้าผู้เล่นยืนผิดแดนเวลาส่งลูกและบังเอิญเป็นฝ่ายได้แต้มจะต้องมีการให้เอาใหม่โดยเงื่อนไขการให้ “เอาใหม่” นี้ จะต้องใช้สิทธิ์เรียกร้องก่อนจะมีการส่งลูกในครั้งต่อไป
ถ้าผู้เล่นยืนผิดแดน และไม่ทราบว่าตนยืนผิด จนกระทั่งมีการส่งลูกในคราวต่อไปแล้ว ถือว่าให้ผ่านไปและจะใช้สิทธิ์ให้ “เอาใหม่” ไม่ได้ และตำแหน่งที่ยืนของผู้เล่นก็ต้องปล่อยไว้จนกว่าจะหมดเกม
การเล่นประเภทคู่
ในการเล่นประเภทคู่ให้ใช้กติกาข้อ 9 – 12 เว้นแต่วิธีการเล่นครั้งแรกผู้ส่งลูกเริ่มเล่นได้เพียงคนเดียว เมื่อลูกเสียโดยฝ่ายส่งลูกเป็นผู้กระทำ ให้เปลี่ยนข้างส่งลูกโดยผู้ส่งครั้งหลังส่งเรื่อยไปจนกว่าฝ่ายตนจะทำเสียทั้งสองคน
 การเล่นประเภทเดี่ยว
13. ในการเล่นประเภทเดี่ยวให้ใช้กติกาข้อ 9 – 12 เว้นแต่
ก.  ผู้เล่นจะต้องส่งลูก หรือรับลูกส่งในสนามรับลูกส่งขวามือ แต่เฉพาะเมื่อการนับคะแนนของผู้ส่งลูกจำนวนศูนย์หรือจำนวนเลขคู่เท่านั้น การส่งลูกและรับส่งลูกจะต้องส่งและรับในสนามส่งลูกซ้ายมือ เมื่อการนับแต้มของผู้ส่งลูกได้จำนวนเป็นเลขคี่
ข.      ผู้เล่นทั้งงสองต้องเปลี่ยนแดนส่งลูก ภายหลังที่ทำคะแนนได้ 1 คะแนน ทุกครั้การทำ “เสีย”
  1. การทำเสียซึ่งผู้เล่นที่เป็นข้าง “ส่งลูก” เป็นผู้ทำขึ้น จะทำให้ลูกตาย แต่ถาผู้เล่นข้างฝ่ายรับลูกเป็นผู้ทำขึ้น ข้างส่งลูก ได้คะแนน 1 คะแนน
การทำเสียเกิดขึ้นเมื่อ                                               ก.      ในการส่งลูก ถ้าเล่นลูกเกินกว่า 1 ครั้ง และขัดที่เล่นลูกนั้นสูงกว่าระดับเข็มขัดปกติ
ข.      ในการส่งลูก ถ้าลูกไปตกลงในสนามส่งลูกที่ผิด คือ ไม่ตกทแยงมุมตรงกันข้ามกับผู้ส่งลูก หรือตกไม่ถึงเส้นส่งลูกสั้นหรือตกเลยเส้นส่งลูกยาว หรือตกนอกเส้นเขตข้างของสนามส่งลูก ที่ต้องส่งลูกนั้นไป
ค.      ถ้าเท้าของผู้ส่งลูกไม่อยู่ในสนามส่งลูก ที่จะต้องส่งลูกไป หรือเท้าของผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับลูกส่ง ไม่อยู่ในสนามส่งลูกที่อยู่ทแยงมุมตรงกันข้าม จนกระทั่งลูกได้ส่งออกมาแล้ว (ดูกติกาข้อ 16)
ง.       ในขณะที่ทำการส่งลูก หรือก่อนที่จะส่งลูก ถ้าผู้เล่นคนใดหลอกล่อ หรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นการกระทำให้ไม่สะดวกแก่คู่ต่อสู้ของเขา
จ.       ในการส่งลูกก็ดี หรือในการโต้ลูกไปตกนอกเขตสนามหรือผ่านทะลุตาข่ายไป หรือผ่านไปใต้ตาข่ายหรือไม่ข้ามตาข่ายหรือไปถูกหลังคา หรือฝาผนัง หรือถูกตัวหรือเครื่องแต่งกายของผู้เล่นคนหนึ่งคนใด(ลูกที่ตกลงบนเส้นจะต้องถือว่าได้ตกลงบนสนามหรือสนามส่งลูก หรือเส้นนั้นเป็นขอบเขต)
ฉ.      ถ้าลูกที่กำลังเล่น ฝ่ายโต้ได้เล่นลูกก่อนที่จะข้ามตาข่ายมาข้างตน(อย่างไรก็ดี ผู้เล่นลูกอาจใช้ส่วนของร่างกายที่ถูกลูกตามกติกาตามลูกที่ตนเล่นไปได้)
ช.      เมื่อลูกอยู่ในเวลา “กำลังเล่น” ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งถูกตาข่ายหรือที่ขึงตาข่าย ด้วยส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย หรือด้วยเครื่องแต่งกาย
ซ.      ถ้าลูกถูกตัวฝ่ายผู้เล่นเกินกว่าสองครั้งติดๆกัน โดยผู้เล่นคนเดียวกันหรือลูกถูกตัว โดยผู้เล่นและผู้ร่วมเล่นฝ่ายเดียวกันติดๆกัน
ฌ.     ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งกีดขวางฝ่ายตรงข้าม
ญ.     ในการเล่นแต่ละครั้งถ้าลูกถูกตัวผู้เล่นข้างเดียวกันเกินกว่า 1 คน
ฎ.      ถ้าฝ่าฝืนกติกาข้อ 16.
ฏ.      เล่นลูกด้วยแขนท่อนบน แขนท่อนล่าง ศอกข้าง ศอกหน้า และมือ(ยกเว้นยอมให้ผู้เล่นใช้ศอกหลัง ไหล่ และศีรษะได้)
กติกาทั่วไป
  1. ผู้ส่งลูก จะต้องไม่ส่งลูกจนกว่าคู่ต่อสู้ของเขาพร้อมแล้วว่าพยายามจะโต้ลูกที่ส่งไปนั้น
  2. ผู้ส่งลูกและผู้เล่นที่รับลูกส่ง ต้องยืนอยู่ภายในขอบเขตสนามรับลูกส่งของตน(ตามที่กำหนดเขตไว้โดยมีเส้นส่งลูกยาว เส้นส่งลูกสั้น เส้นกลางและเส้นข้าง)และบางส่วนของเท้าทั้งสอบข้างของผู้เล่นเหล่านี้ จะต้องถูกพื้นสนามอยู่ในท่านิ่ง จนกระทั่งการส่งลูกได้กระทำแล้วเท้าใดเท้าหนึ่งของผู้ส่งลูกก็ดีอยู่บนเส้นหรือถูกเส้น จะต้องถือว่าเท้านั้นอยู่นอกสนามส่งลูก และสนามรับส่งลูก (ดูกติกาข้อ 14 ค.)คู่ของผู้ส่งลูกและคู่ของผู้รับลูก จะยืนอยู่ ณ ที่ใดก็ได้ แต่ต้องไม่บังคับหรือกีดขวางการส่งลูกและรับลูก สำหรับผู้เล่นแนวหลังขณะรับและส่งจะยืนล้ำหน้าผู้เล่นแนวหน้าไม่ได้
  3. ถ้าในการส่งลูกหรือโต้กัน ลูกกระทบตาข่ายและข้ามตาข่ายไปได้แล้วไม่ถือเป็นลูกเสีย ถ้าโต้ลูกผ่านออกไปนอกเสาตาข่ายข้างใดข้างหนึ่งแล้วไปตกบนเส้นหรือภายใต้เส้นเขตของสนามฝ่ายตรงกันข้าม เช่นนี้ถือว่า เป็นลูกเสีย ในกรณีที่เกิดการกีดขวางขึ้นโดยบังเอิญ หรือโดยคาดไม่ถึง ผู้ตัดสินอาจตัดสินให้
“เอาใหม่ ” ได้
  1. ถ้าผู้ส่งลูกเล่นลูกส่งผิดเช่นนี้ ไม่ถือเป็นเสีย แต่ถ้าลูกได้ถูกร่างกายต้องถือว่าได้ส่งลูกแล้ว
  2. ในระหว่างการเล่น ลูกถูกตาข่ายและติดตาข่ายอยู่ หรือถูกตาข่ายแล้วตกลงไปยังพื้นสนามด้านของผู้โต้ลูก หรือตกพื้นภายนอกสนามแล้วฝ่ายตรงข้ามคนหนึ่งถูกตาข่าย หรือโต้ลูก หรือตัวถูกลูก ไม่ถือว่าฝ่ายตรงข้ามผู้นั้นกระทำผิด เพราะเวลานั้นลูกมิได้อยู่ในการเล่น
  3. ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งมีโอกาสจะโต้ลูกในทางจากสูงลงต่ำเมื่อลูกนั้นอยู่ใกล้ตาข่ายมาก ฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่เอาส่วนของร่างกายยื่นเข้ามาใกล้ตาข่าย เพื่อให้มีโอกาสที่ลูกจะสะท้อนกลับจากร่างกายส่วนนั้นได้ การกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำกีดขวาง ตามความหมายของกติกาข้อ 14 ( ญ )
  4. เป็นหน้าที่ของผู้ตัดสินที่จะต้องขาน “เสีย” หรือ “เอาใหม่” เมื่อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น โดยไม่ต้องรอให้ผู้เล่นเรียกร้อง และต้องให้คำวินิจฉัยเด็ดขาดในการอุทธรณ์เกี่ยวกับการโต้เถียงเรื่องคะแนนซึ่งร้องเรียนขึ้นมาก่อนการส่งลูกครั้งต่อไปและผู้ตัดสินเลือกตั้งผู้กำกับเส้นตามที่เห็นสมควร คำวินิจฉัยของผู้ตัดสินต้องยืนยันตามคำบอกของผู้กำกับเส้น อย่างไรก็ดีถ้ามีการตั้งผู้ชี้ขาดขึ้น ซึ่งผู้ตัดสินได้วินิจฉัยโดยเด็ดขาดแล้วเท่านั้น
การดำเนินการแข่งขัน
  1. การแข่งขันจะต้องดำเนินไป ตั้งแต่ต้นจนจบการแข่งขันเว้นไว้แต่
ก.      ในการชิงชนะเลิศตะกร้อระหว่างชาติ จะมีการหยุดพักได้ไม่เกิน 5 นาที ในระหว่างเกมที่ 2 -3  ของการแข่งขัน
ข.      ในประเทศที่เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ อาจจะมีการผ่อนผันให้พักได้ไม่เกิน 5 นาที ในระหว่างเกมที่ 2 -3 โดยได้รับความเห็นชอบจากองค์กรนานาชาติเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อน ระหว่างการแข่งขันเกมที่ 2 – 3 ในประเภทเดี่ยว คู่ หรือสามคน
ค.      เมื่อดินฟ้าอากาศไม่อำนวย ผู้ตัดสินอาจจะสั่งให้ยุติการแข่งขันได้ตามที่เห็นสมควร ถ้ามีการชะงักการแข่งขันครั้งนี้เกิดขึ้น คะแนนที่ได้ต้องอยู่คงเดิมและจะเริ่มต้นแข่งขันใหม่จากคะแนนที่ได้อยู่แล้วนั้น การแข่งขันจะหยุดไม่ได้ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น ในการที่จะให้นักกีฬาหยุดพักเพื่อจะได้มีกำลังเล่นต่อไป หรือเพื่อจะได้รับการแนะนำสั่งสอนวิธีการเล่นจากผู้อยู่นอกสนาม ผู้เล่นไม่มีสิทธิ์อกนอกสนามแข่งขันได้ก่อนที่จะจบการแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินเสียก่อน ผู้ตัดสินมีสิทธิ์เพียงผู้เดียวที่จะหยุดการแข่งขันและมีสิทธิ์ที่จะตัดสิทธิ์ผู้เล่นหรือไล่ออกแก่ผู้กระทำผิดกติกา
การตีความ
  1. การเคลื่อนไหวหรือการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด โดยผู้ส่งลูก ซึ่งมีผลขัดขวางความต่อเนื่องของการส่งลูกภายหลัง เมื่อผู้ส่งลูกและผู้รับลูกได้เข้ายืนตามตำแหน่งเพื่อส่งและรับลูกแล้ว ถือว่าเป็นการหลอกล่อ (ดูกติกาข้อ 14 ง.)
  2. กรณีดังกล่าวถือเป็นเสีย ตามข้อ 14 (ช.)
ก.      ถ้าลูกติดอยู่ที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ในระหว่างโต้ลูกแล้วสลัดออกไปแทนที่จะโต้โดยเฉียบขาด หรือ
ข.      ถ้าเล่นลูกครู ไม่ว่ากรณีใดๆ
  1. ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งรุกเข้าไปในสนามของคู่ต่อสู้แม้จะเล็กน้อยหรือด้วยเครื่องแต่งกายก็ดี ให้ถือเป็นการกีดขวาง นอกจากที่อนุญาตให้ทำได้ในกติกาข้อ 14 (ฉ.) ดูกติกาข้อ 14(ญ.)
  2. ในที่ที่มีความจำเป็นเนื่องจากลักษณะของผู้มีอำนาจเกี่ยวกับตะกร้อประจำท้องถิ่น อาจวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับลูกถูกสิ่งกีดขวางได้ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้สิทธิ์ของสมาคมแห่งชาติด้วย
  3. ในระหว่างการโต้ลูก เมื่อลูกข้ามตาข่ายฝ่ายหนึ่งไปแล้ว และปรากฏว่าอีกฝ่ายได้ทำลูกเสีย หรือลูกตาย อีกฝ่ายจะถูกตาข่าย หรือเหยียบล้ำเส้นแบ่งแดน (ใต้ตาข่าย) ก็ได้ไม่ถือว่าเสีย
    1. สนาม
    ยาว 13.40 เมตร กว้าง 6.10 เมตร เพดานสูง 8.00 เมตร มีเส้นแบ่งแดนออกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน มีเส้นครึ่งวงกลมทั้ง 2 แดน รัศมี 30 ซม. เสาสูง 1.55 เมตร ( เยาวชนอายุไม่เกิน 12 ปี ) และทีมหญิงเสาสูง 1.45 เมตร ตาข่ายกว้าง 70 ซม. ตรงกลางของตาข่ายสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.52 เมตร ( เยาวชน 1.42 เมตร )
    2. ลูกตะกร้อ
    ทรงกลม มีเส้นรอบวง 42 – 44 ซม. มี 12 รูกับ 20 จุดไขว้ตัด ทำด้วยหวายหรือใบสังเคระห์ ถ้าเป็นหวายต้องมี 9 – 11 เส้น น้ำหนัก 170 – 180 กรัม
    3. เครื่องแต่งกาย
    สวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ต้องเอาชายเสื้อไว้ในกางเกงตลอดเวลา ห้ามใช้อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนไหว และการเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หัวหน้าทีมต้องใส่ปลอกแขนที่แขนเสื้อด้านซ้าย ติดหมายเลขด้านหลัง 1 – 15
    กติกาตะกร้อ
    1.ผู้เล่น
    ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน
    2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ
    2.1 หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม
    2.2 หน้าซ้าย
    2.3 หน้าขวา
    3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
    ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้
    4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย
    มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน
    5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ
    เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้
    6. การเปลี่ยนส่ง
    ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้
    7. การขอเวลานอก
    ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที
    8. การนับคะแนน
    การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที